เตรียมความพร้อม สู่อาเซียน

เตรียมความพร้อม สู่อาเซียน
เตรียมความพร้อม สู่อาเซียน

...

ประเทศไทยเตรียมพร้อม ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน โดย...คุณโสภิณ   ใจชื่น สำนักงานที่ดินจังหวัดพังงา (สาขาตะกั่วทุ่ง) ต.กระโสม อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา (เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)           ก้าวเดินสู่เวลาอนาคตอีก 3 ปีข้างหน้า ประเทศในเอเชียจะเตีรยมตัวรวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียว ในชื่อที่ใคร ๆ อาจจะรู้จักมาก่อนแล้วของประเทศ ที่มารวมกลุ่มกันจึงเรียกชื่อว่า ประชาคมอาเซียน ASEAN community ซึ่ง มีลักษณะคล้าย ๆ กับ “สหภาพยุโรป” ทางฝั่งตะวันตกที่พวกเขาได้ รวมกันเพื่อช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจ และผลประโยชน์ต่อประเทศเพื่อนบ้านนั้น ๆ เฉกเช่นเดียวกับประชาคมอาเซียนในทวีปเอเชีย ภายใต้คำขวัญ ว่า “วิสัยทัศน์เดียว อัตลักษณ์เดียว ประชาคมเดียว” ประเทศไทยจึงรีบเร่งพัฒนาประเทศเพื่อให้ก้าวหน้านำไปสู่ประชาคมอาเซียนที่จะเกิดขึ้นภาย ในอนาคตกาลอันใกล้นี้           แรกเริ่มเดิมที เป็นการก่อตั้งประชาคมอาเซียน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มก่อตัวขึ้น ตั้งแต่ ปี 2510 ประเทศสมาชิกแต่ละประเทศ รวมตัวกันหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ สิ่งที่เห็นได้ชัดในสายตาของประชาชนของประเทศที่รวมกลุ่มกัน คือ ได้มีการร่วมมือร่วมใจพัฒนาในด้าน สังคม เศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แล้วมีการประกาศของที่ประชุมประเทศมาเลเซีย เดือนธันวาคม 2540 ใน “วิสัยทัศน์อาเซียน 2020 และต่อจากนั้นในเดือนตุลาคม 2546 มีการลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน Bali Concord ll เป็น การประชุมของผู้นำอาเซียน ที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2563 จึงได้ตกลง กันประชุมที่ประเทศฟิลิปปินส์เมื่อปี 2550 และจะเร่งให้จัดขึ้นใน ปี 2558 ต่อไป           การร่วมมือตกลงกันเกี่ยวกับความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในประชาคมอาเซียนนี้มีข้อตกลงหลักการ 3 ประการ คือประการแรก ประชาคม การเมืองความมั่นคงอาเซียน เป็นการสร้างเสถียรภาพให้อยู่อย่างมั่นคง นำหลักประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนแก้ไขข้อพิพาทอย่างสันติวิธี ส่งเสริม ในเรื่องหลักนิติธรรม และธรรมาภิบาล นอกจากนั้นยังมีการต่อต้านภัยที่คุกคามรูปแบบใหม่ คือ อาชญากรรมข้ามชาติ การก่อการร้าย ยาเสพติด การ ค้ามนุษย์ รวมถึงภัยพิบัติธรรมชาติที่เกิดขึ้น ประการที่สอง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สร้างการเจริญเติบโตให้อาเซียนเป็นตลาดที่มีฐานการ ผลิต หรือการลงทุน แรงงาน การค้า กำแพงภาษี เพื่อให้มีศักยภาพในการแข่งขันทางเศรษฐกิจโลก ประการที่สาม ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม อาเซียน สร้างแผนปฏิบัติการสำหรับสังคมเอื้ออาทรด้วยการยกระดับคุณภาพชีวิต ลดปัญหาความยากจน สร้างความเสมอภาคต่อกัน พัฒนาทรัพยากร มนุษย์ ส่งเสริมการศึกษา พัฒนาสาธารณสุข สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบัน เพื่อแก้ไขผลกระทบทางสังคมที่เกิดจากการรวมตัวเศรษฐกิจ ให้มีการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ป้องกันมลภาวะเป็นพิษ            วิธีการปฏิบัติของประเทศไทยใน “ประชาคมอาเซียน” ทั้งด้านวิสัยทัศน์ร่วมกัน เปรียบเสมือน จิตหนึ่งใจเดียวกัน ที่มีสายสัมพันธ์ร่วมกัน ในการสร้างให้มีการปฏิบัติอย่างแท้จริง เป็นการเตรียมความพร้อมนั้น ประเทศไทยมีการร่วมลงทุน ขยายธุรกิจข้ามพรมแดน การใช้ประโยชน์จาก มาตรการภาษีอากร พัฒนาบุคคลากร กำหนดมาตรฐานแรงงาน นอกจากที่กล่าวมาแล้วยังมีการศึกษาเป็นรากฐานสำคัญก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียน ในส่วนของทางด้านวิชาการ ผ่านโครงการความร่วมมือ 4 ลักษณะ คือ 1.การส่งเสริมความตระหนักรับรู้เกี่ยวกับอาเซียนของพลเมืองโดยเฉพาะ เยาวชนผ่านการเผยแพร่ความรู้ 2.การเสริมอัตลักษณ์ผ่านการศึกษา 3.สร้างทรัพยากรมนุษย์ในสาขาการศึกษา และ 4.การสร้างเครือข่ายมหาวิทยาลัย อาเซียน ตั้งเมื่อ 2538 ปัจจุบันมีสมาชิกจาก 22 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศไทย สำหรับแวดวงวิชาการในประเทศไทยกำหนดแนวทางขับเคลื่อน ได้แก่ การพัฒนาการศึกษา ของนักเรียน นักศึกษา ประชาชน และพัฒนาทักษะที่สำคัญทางภาษาอังกฤษ ถือว่าเป็นภาษาสากลที่ทั่วโลกใช้กันเกือบทุกประเทศ แต่อีกภาษาหนึ่งที่ใช้การในประชากรอาเซียนคือ ภาษามาลายู ผู้ที่ใช้พูดสื่อสารกันมีมากถึง 300 ล้านคนทีเดียว ประเทศไทยยังมีการตั้งมาตรฐาน วิชาการ โดยการจัดทำกรอบมาตรฐานของการศึกษาไทย ในสายสามัญหรือมหาวิทยาลัย คือ TQF (Thailand Qualification Framework) ใน สายอาชีวศึกษาเรียกว่า TVQ (Thailand Vocational Education) ด้วยการให้มี การจัดสอบอาชีวศึกษาระดับชาติ หรือ V-NET ( Vocational National Education Test ) ขณะที่มีการประชุมอธิการดีแห่งประเทศไทย (ทปอ) เห็นว่าควรมีการปรับเปลี่ยนการเปิดภาคเรียนให้ตรงกับสากล คือ ภาคเรียนที่ 1 เปิดเรียนเดือนกันยายน-ธันวาคม ภาคเรียนที่ 2 เดือนมกราคม –พฤษภาคม แต่อย่างไรแล้วก็มีเสียงแย้งว่าไม่เหมาะสมตาม สภาพ ภูมิศาสตร์ ฤดูกาล วิถีชีวิต วัฒนธรรมของประเทศไทย           การพัฒนาประเทศให้ประเทศไทยก้าวสู่ความทันสมัย เจริญขึ้นทุกด้านใน “ประชาคมอาซียน”ไม่ว่าจะเป็น ด้านการศึกษา คุณภาพชีวิต ประชาชน สังคมวัฒนธรรม ประเพณี เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง การมีศีลธรรมอันดีตามหลักธรรมของศาสนา การเรียนรู้ แรงจูงใจ ความสมัคร สมานสามัคคีของคนในชาติ ให้รวมกันเป็นหนึ่งเดียวกับ ประชาคมอาเซียน ถ้าทุกภาคส่วนให้ความร่วมมือ มีความขยันหมั่นเพียร อดทนและ กระทำปฏิบัติออกมาอย่างจริงจังแล้วประเทศไทยของเราทุกคนจะมีความก้าวหน้าอย่างมาก เพราะเราได้ร่วมมือกันกับประเทศในกลุ่ม อาเซียนทำให้เรานั้นได้รับผลประโยชน์ตอบแทนเป็นผู้มีส่วนได้เสียด้วยกัน อาทิ รายได้ในการค้าระหว่างประเทศ อัตราภาษีที่ไทยต้องเสียให้กับประเทศ ต่าง ๆ น้อยลง แล้วยังมีเรื่องจารีตประเพณีไทยไม่ก่อให้เกิดการเหลื่อมล้ำกันมากนักในกลุ่ม ชาติพันธุ์ที่แตกต่างกันและยังมีด้านอื่น ๆ อีกมากมาย นี่ คือผลลัพธ์ที่ดีที่สุดของประเทศไทยในการเข้าร่วม “ประชาคมอาเซียน” เอกสารอ้างอิง ........................................................................................................................... http://blog.eduzones.com/aec/85546 http://www.moc.moe.go.th/ViewContent.aspx?ID=4202 http://www2.rsu.ac.th/news/readinesstoasean http://ประชาคมอาเซียน.net/ http://www.enn.co.th/