สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
๑. ด้านกายภาพ
๑.๑ ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล
ที่ตั้งของชุมชนในเขตเทศบาลตำบลเทพสถิต ตั้งอยู่ในพื้นที่บางส่วนของตำบลวะตะแบก อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ เดิมเป็นพื้นที่จัดตั้งเป็นสุขาภิบาล มีชื่อว่า “สุขาภิบาลเทพสถิต อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ” ได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาลเทพสถิต เป็นเทศบาลตำบลเทพสถิต ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๙ ก วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ จึงเป็นผลให้สุขาภิบาลเทพสถิต เปลี่ยนแปลงเป็นเทศบาลตำบลเทพสถิต ในวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ เป็นต้นมา โดยมีพื้นที่ประมาณ ๗ ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ ๔,๓๗๕ ไร่ ตั้งอยู่บนที่ราบสูงของภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านทิศตะวันตก ตั้งอยู่ใจกลางตัวอำเภอเทพสถิต อยู่ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดชัยภูมิ ห่างจากจังหวัดชัยภูมิ ประมาณ ๑๐๕ กิโลเมตร และอยู่ด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ของกรุงเทพมหานคร ห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยทางรถยนต์ประมาณ ๒๔๒ กิโลเมตร
เทศบาลตำบลเทพสถิตมีพื้นที่ครอบคลุมบางส่วนของตำบลวะตะแบก ดังนี้คือ
- บางส่วนของหมู่ที่ ๑ บ้านวะตะแบก ตำบลวะตะแบก อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ
- บางส่วนของหมู่ที่ ๒ บ้านห้วยเกตุ ตำบลวะตะแบก อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ
เทศบาลแบ่งเขตการปกครองดังนี้
แบ่งพื้นที่เป็น ๗ ชุมชน ได้แก่
ชุมชนเทศบาล ๑ (วะตะแบกน้อย – ศาลาแดง) ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๑ บ้านวะตะแบก
ชุมชนเทศบาล ๒ (ตลาดเก่า) ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๑ บ้านวะตะแบก
ชุมชนเทศบาล ๓ (หมวดการทางฯ) ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๑ บ้านวะตะแบก
ชุมชนเทศบาล ๔ (ตลาดใหม่) ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๑ บ้านวะตะแบก
ชุมชนเทศบาล ๕ (เสมาทอง) ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๒ บ้านห้วยเกตุ
ชุมชนเทศบาล ๖ (เทวา) ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๒ บ้านห้วยเกตุ
ชุมชนเทศบาล ๗ (ศูนย์ราชการฯ) ตั้งอยู่ บ้านพักบริเวณที่ทำการอำเภอ สถานีตำรวจและบริเวณใกล้เคียง
สำนักงานเทศบาลตำบลเทพสถิต
(ปัจจุบันเป็นเทศบาลขนาดกลาง ณ วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖)
ตั้งอยู่ที่ หมู่ ๒ ตำบลวะตะแบก อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ
(ตั้งอยู่ศูนย์ราชการในบริเวณที่ว่าการอำเภอเทพสถิต)
- โทรศัพท์ ๐๔๔ – ๘๕๕๒๕๒, ๐๔๔ – ๘๕๗๐๒๐
- โทรสาร ๐๔๔ – ๘๕๗๐๒๐
๑.๒ ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะทั่วไปเป็นพื้นที่ราบเชิงเขาและที่สูง มีสภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวปนทราย และหิน/ดินลูกรัง ราษฎรส่วนใหญ่ทำไร่ในที่ราบเชิงเขา สภาพอากาศจะแห้งแล้งมาก การเกษตรต้องอาศัยฤดูกาลเป็นหลัก สภาพดินตื้นมากมีชั้นหินผุ และหินพื้น น้ำซึมผ่านชั้นดินได้ปานกลางถึงค่อนข้างเร็ว ไม่อุ้มน้ำ มีการอุ้มน้ำปานกลางถึงต่ำ ดินถูกกัดกร่อนได้ง่ายที่ความลาดชันสูง
๑.๓ ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะอากาศมีลักษณะร้อนและแห้งแล้ง อากาศเปลี่ยนแปลงไปตามฤดู ซึ่งมี ๓ ฤดู ดังนี้
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมไปจนถึงเดือนพฤษภาคมของทุกปี อากาศร้อนและแห้งแล้ง แต่บางครั้งอาจมีอากาศเย็น บ้างครั้งเกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงหรืออาจมีลูกเห็บตกก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนทุกปี เรียกว่า “พายุฤดูร้อน” อากาศร้อน จะมีอุณหภูมิประมาณ ๓๔ องศาเซลเซียส
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายน ฝนตกมากในช่วงเดือน มิถุนายน – ตุลาคมของทุกปี แต่อาจเกิด “ช่วงฝนทิ้ง” ซึ่งอาจนานประมาณ ๑ – ๒ สัปดาห์หรือบางปีอาจเกิดขึ้นรุนแรงและมีฝนน้อยนานนับเดือน ในเดือนกรกฎาคม มีอุณหภูมิประมาณ ๒๘ องศาเซลเซียส
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ในช่วงกลางเดือนกลางเดือนพฤศจิกายนนานราว ๑-๒ สัปดาห์ เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเป็นฤดูหนาว อากาศแปรปรวนไม่แน่นอน อาจเริ่มมีอากาศเย็นหรืออาจยังมีฝนฟ้าคะนอง อากาศหนาวอุณภูมิต่ำสุด ประมาณ ๑๙ องศา
๑.๔ ลักษณะของดิน
ลักษณะดินโดยทั่วไปเป็นดินเหนียวปนทราย และหิน/ดินลูกรัง
๑.๕ ลักษณะของแหล่งน้ำ
น้ำส่วนใหญ่เป็นน้ำจืดที่ได้จากธารน้ำธรรมชาติ ซึ่งมีต้นกำเนิดบนเทือกเขาพังเหย และธารน้ำเหล่านี้เองที่เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำหลายสาย เช่น แม่น้ำชี (ไหลไปบรรจบ) ลำคันฉู ลำกระจวน เป็นต้น ปัจจุบันมีการตัดไม้ทำลายป่าเป็นอย่างมาก ลำธารต่าง ๆ จึงตื้นเขิน น้ำจะแห้งในฤดูร้อน และน้ำจะหลากใน
ฤดูฝน ส่วนใหญ่ฤดูร้อนจะได้น้ำจากดิน
แหล่งน้ำในเขตเทศบาลตำบลเทพสถิต มีดังนี้
๑.๕.๑ หนอง บึง จำนวน ๑ แห่ง ได้แก่ บ่อ อ.ส. ตั้งอยู่ที่ บ้านวะตะแบก หมู่ที่ ๑
๑.๕.๒ คลอง ลำธาร ห้วย จำนวน ๓ แห่ง ได้แก่
- คลองวะตะแบก บ้านวะตะแบก ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑
- คลองผักโปร่ง บ้านวะตะแบก ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑
- คลองห้วยเกตุ บ้านห้วยเกตุ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒
๑.๖ ลักษณะของไม้และป่าไม้
ในเขตเทศบาลไม่มีป่าไม้ แต่มีต้นไม้ที่ชาวบ้านปลูกลักษณะของไม้เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ
๒. ด้านการเมือง/การปกครอง
๒.๑ เขตการปกครอง
เทศบาลได้จัดตั้งชุมชนในเขตเทศบาล มีทั้งหมด ๗ ชุมชน แต่ละชุมชนมีกรรมการซึ่งเป็นตัวแทนของชุมชน ๕๙ คน จากการเลือกตั้งสมาชิกเทศบาลตำบลเทพสถิตเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมานั้น จะเห็นได้ว่าประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเทพสถิต ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง จำนวนประชาชนที่มาใช้สิทธิเลือกตั้ง จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง จำนวน ๑,878 คน จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น ๒,970 คน คิดเป็นร้อยละ ๖3.23 ของผู้มีสิทธิ์เลือกทั้งหมด คณะผู้บริหารได้มีนโยบายส่งเสริมให้ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเทพสถิตเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของเทศบาลตำบล
โดยเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาโดยนำเสนอปัญหาและแนวทางการแก้ไขของชุมชนเทศบาล
ทั้ง 7 ชุมชน ในรูปของประชาคมและรูปแบบอื่นๆ ตามความเหมะสม ส่งผลให้การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของเทศบาล ได้รับความร่วมมือจากประชาชนและบรรลุผลด้วยดี
อาณาเขต เทศบาลตำบลเทพสถิต มีอาณาเขตดังต่อไปนี้
ด้านเหนือ ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลวะตะแบก อำเภอเทพสถิต หลักเขตที่ ๑ ตั้งอยู่ตามแนวเส้นตั้งฉากเป็นระยะห่าง ๔๐๐ เมตร ไปทางทิศเหนือกับศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕ ถนนชัยบาดาล–หนองบัวโคก ตรงที่ห่างจากศูนย์กลางสะพานข้ามคลองวะตะแบก ระยะ ๖๐๐ เมตร จากหลักเขตที่ ๑ เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือถึงหลักเขตที่ ๒ ซึ่งตั้งอยู่ตรงระยะห่าง ๓๐๐ เมตร ตามแนวเส้นตั้งฉากไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือกับศูนย์กลางทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ
แก่งคอย–บัวใหญ่ ตรงจุดที่ห่างจากศูนย์กลางสะพานรถไฟข้ามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕ ถนน
ชัยบาดาล–หนองบัวโคก ระยะตามทางรถไฟ ๓๐๐ เมตร
จากหลักเขตที่ ๒ เป็นเส้นขนานระยะห่าง ๓๐๐ เมตร กับทางรถไฟสายตะวันออก
เฉียงเหนือ แก่งคอย – บัวใหญ่ ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือถึงหลักเขตที่ ๓ ซึ่งตั้งอยู่ตามแนวเส้นตั้งฉากกับทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ แก่งคอย – บัวใหญ่ ตรงที่ห่างจากถนนไปบ้านโคกไค ระยะ ๑,๓๕๐ เมตร
ด้านใต้ ติดต่อกับ อบต.วะตะแบก จากหลักเขตที่ ๔ เส้นขนานระยะห่าง ๔๐๐ เมตร
กับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕ ถนนชัยบาดาล - หนองบัวโคก ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือถึงหลักเขตที่ ๕ ซึ่งตั้งอยู่ตามแนวเส้นตั้งฉากกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕ ถนนชัยบาดาล–หนองบัวโคก ตรงที่ห่างจากกลางสะพานข้ามคลองวะตะแบก ระยะ ๖๐๐ เมตร
ด้านตะวันออก ติดต่อกับ อบต.วะตะแบก จากหลักเขตที่ ๓ เป็นเส้นตรงไปทางตะวันตกเฉียงใต้ผ่านทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๒๐๕ ถนนชัยบาดาล–หนองบัวโคก ถึงหลักเขตที่ ๔ ซึ่งตั้งอยู่ตามแนวเส้นตั้งฉากกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕ ถนนชัยบาดาล-หนองบัวโคก ฟากใต้ระยะ ๔๐๐ เมตร ตรงที่ห่างจากสามแยกข้างวัดห้วยเกตุระยะ ๑,๒๕๐ เมตร
ด้านตะวันตก ติดต่อกับ อบต.วะตะแบก จากหลักเขตที่ ๕ เป็นเส้นตั้งฉากไปทางตะวันออกเฉียงเหนือจนบรรจบหลักเขตที่ ๑
๒.๒ การเลือกตั้ง
เทศบาลได้แบ่งเขตการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีตำบลเทพสถิต ทั้งเขตเทศบาลเป็น ๑ เขตเลือกตั้ง สมาชิกสภาออกเป็น ๒ เขต ดังนี้
เขตเลือกตั้งที่ ๑ ประกอบไปด้วย ชุมชน ๑ – ชุมชน ๓
เขตเลือกตั้งที่ ๒ ประกอบไปด้วย ชุมชน ๔ – ชุมชน ๗
จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (ข้อมูล ณ 28 มีนาคม 2564)
- จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 2,970 คน
- จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ครั้งล่าสุด (28 มีนาคม พ.ศ. ๒๕64)
- จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งนายกเทศมนตรี 1,878 คน จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น 2,970 คน คิดเป็นร้อยละ ๖3.23 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
๓. ประชากร
๓.๑ ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
- กรกฎาคม 2562 มีจำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น 3,934 คน โดยจำแนกเป็นประชากรชาย ๑,๙0๗ คน ประชากรหญิง ๒,๐27 คน มีความหนาแน่นของประชากรโดยเฉลี่ยประมาณ ๕6๒ คน ต่อตารางกิโลเมตร มีจำนวนหลังคาเรือน 2,235 ครัวเรือน ขนาดครัวเรือนโดยเฉลี่ย ๒ คนต่อครัวเรือน
- มิถุนายน 2563 จำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น 3,979 คน โดยจำแนกเป็นประชากรชาย ๑,๙38 คน ประชากรหญิง ๒,๐41 คน มีความหนาแน่นของประชากรโดยเฉลี่ยประมาณ ๕68 คนต่อตารางกิโลเมตร มีจำนวนหลังคาเรือน 2,241 ครัวเรือน ขนาดครัวเรือนโดยเฉลี่ย ๒ คนต่อครัวเรือน
- มีนาคม 2564 จำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น 3,858 คน โดยจำแนกเป็นประชากรชาย 1,924 คน ประชากรหญิง 1,934 คน มีความหนาแน่นของประชากรโดยเฉลี่ยประมาณ ๕51 คนต่อตารางกิโลเมตร มีจำนวนหลังคาเรือน 2,264 ครัวเรือน ขนาดครัวเรือนโดยเฉลี่ย ๒ คนต่อครัวเรือน
๓.๒ ช่วงอายุและจำนวนประชากร
เมื่อศึกษาสถิติประชากรระหว่างปี พ.ศ. ๒๕62 - พ.ศ. ๒๕64 ดังกล่าวทำให้ทราบว่าเทศบาลตำบลเทพสถิต มีการเปลี่ยนแปลงประชากร โดยมีรายละเอียด ตามตารางที่ 1-3 ดังนี้
ตารางที่ ๑ แสดงจำนวนประชากร ชาย – หญิง แยกเป็นหมู่บ้านที่อยู่ในเขตการปกครอง
(ข้อมูล ณ กรกฎาคม 2562)
หมู่บ้านอายุ |
หมู่ที่ ๑ บ้านวะตะแบก |
หมู่ที่ ๒ บ้านห้วยเกตุ |
รวมทั้งสิ้น |
||
ชาย |
หญิง |
ชาย |
หญิง |
ชาย / หญิง |
|
ทารก – ๘ ปี |
124 |
115 |
71 |
133 |
443 |
๙ –๑๗ ปี |
150 |
136 |
72 |
58 |
416 |
๑๘ – ๒๕ ปี |
126 |
127 |
54 |
65 |
372 |
๒๖ – ๕๙ ปี |
704 |
797 |
269 |
259 |
2029 |
๖๐ ปี ขึ้นไป |
280 |
325 |
57 |
83 |
745 |
รวม |
1,387 |
1,390 |
523 |
527 |
3,827 |
ตารางที่ 2 แสดงจำนวนประชากร ชาย – หญิง แยกเป็นหมู่บ้านที่อยู่ในเขตการปกครอง
(ข้อมูล ณ มิถุนายน 2563)
หมู่บ้านอายุ |
หมู่ที่ ๑ บ้านวะตะแบก |
หมู่ที่ ๒ บ้านห้วยเกตุ |
รวมทั้งสิ้น |
||
ชาย |
หญิง |
ชาย |
หญิง |
ชาย / หญิง |
|
0-2 ปี |
45 |
30 |
18 |
13 |
106 |
3-5 ปี |
36 |
41 |
26 |
18 |
121 |
6-12 ปี |
114 |
105 |
63 |
61 |
343 |
13-14 ปี |
32 |
35 |
16 |
12 |
95 |
15-18 ปี |
62 |
56 |
31 |
23 |
172 |
19-25 ปี |
114 |
115 |
45 |
59 |
333 |
26-34 ปี |
150 |
142 |
71 |
63 |
426 |
35-49 ปี |
343 |
395 |
141 |
139 |
1018 |
50-59 ปี |
227 |
264 |
64 |
64 |
619 |
60 ปีขึ้นไป |
283 |
321 |
57 |
85 |
746 |
รวม |
1,406 |
1,504 |
532 |
537 |
3,979 |
ตารางที่ 3 แสดงจำนวนประชากร ชาย – หญิง แยกเป็นหมู่บ้านที่อยู่ในเขตการปกครอง
(ข้อมูล ณ มีนาคม 2564)
หมู่บ้านอายุ |
หมู่ที่ ๑ บ้านวะตะแบก |
หมู่ที่ ๒ บ้านห้วยเกตุ |
รวมทั้งสิ้น |
||
ชาย |
หญิง |
ชาย |
หญิง |
ชาย / หญิง |
|
0-2 ปี |
30 |
31 |
18 |
13 |
92 |
3-5 ปี |
41 |
39 |
23 |
14 |
117 |
6-12 ปี |
107 |
94 |
62 |
63 |
326 |
13-14 ปี |
33 |
36 |
13 |
9 |
91 |
15-18 ปี |
72 |
62 |
32 |
25 |
191 |
19-25 ปี |
98 |
122 |
52 |
54 |
326 |
26-34 ปี |
150 |
133 |
75 |
65 |
423 |
35-49 ปี |
336 |
276 |
130 |
132 |
874 |
50-59 ปี |
228 |
257 |
66 |
70 |
621 |
60 ปีขึ้นไป |
294 |
348 |
64 |
91 |
797 |
รวม |
1,389 |
1,398 |
535 |
536 |
3,858 |
๔. สภาพทางสังคม
๔.๑ การศึกษา
ในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลเทพสถิต มีสถานศึกษาจำนวน 6 แห่ง ดังนี้
- ระดับก่อนประถม – ประถมศึกษา จำนวน ๒ แห่ง
(๑) โรงเรียนอนุบาลเทพสถิต เป็นสถาบันการศึกษาของรัฐ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ บ้านวะตะแบก ตำบลวะตะแบก
(๒) โรงเรียนบ้านห้วยเกตุ เป็นสถาบันการศึกษาของรัฐ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ บ้านห้วยเกตุ ตำบลวะตะแบก
- ระดับก่อนประถมศึกษา – มัธยมศึกษาตอนต้น
(๑) โรงเรียนมงคลศึกษา เป็นสถาบันการศึกษาเอกชน ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ บ้านวะตะแบก ตำบลวะตะแบก
- ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น – มัธยมศึกษาตอนปลาย
(๑) โรงเรียนเทพสถิตวิทยา เป็นสถาบันการศึกษาของรัฐ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ บ้านวะตะแบก ตำบลวะตะแบก
- ระดับอาขีวศึกษา จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยอาชีวศึกษามหานครอาเซียน ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 บ้านวะตะแบก ตำบลวะตะแบก
- ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน ๑ แห่ง ได้แก่ ศูนย์การเรียนชุมชน (ศรช.) ห้วยเกตุ
ตารางที่ 4 สถาบันการศึกษา จำแนกตามระดับการศึกษา ปีการศึกษา ๒๕64 เขตเทศบาลตำบลเทพสถิต อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ
ลำดับ |
ชื่อโรงเรียน |
จำนวน |
จำนวนนักเรียน |
||||||
ครู |
นร. |
ห้อง เรียน |
ก่อนประถม |
ประถม |
มัธยม ต้น |
มัธยมปลาย |
|
||
๑ |
บ้านห้วยเกตุ (สพฐ.ชย.๓) |
10 |
112 |
๘ |
18 |
94 |
- |
- |
|
๒ |
อนุบาลเทพสถิต (สพฐ.ชย.๓) |
44 |
873 |
31 |
246 |
627 |
- |
- |
|
๓ |
เทพสถิตวิทยา (สพม.ชย.๓๐) |
๔๖ |
๗๖๖ |
๒๑ |
- |
- |
๔๒๙ |
๓๓๗ |
|
๔ |
มงคลศึกษา (เอกชน) |
๒๔ |
๓๙๕ |
๑๔ |
๙๕ |
๒๑๘ |
๘๒ |
- |
|
|
รวม |
119 |
2,072 |
71 |
301 |
937 |
511 |
337 |
|
(ข้อมูล ณ วันที่ 25 มิถุนายน ๒๕64)
๔.๒ สาธารณสุข
การให้บริการทางด้านสาธารณสุข ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ป่วย เพราะทางผู้ให้บริการต้องให้บริการแก่ผู้ป่วยที่อยู่นอกเขตเทศบาลด้วย จึงทำให้บุคลากรที่มีอยู่ไม่เพียงพอ ทั้งนี้เพราะขาดงบประมาณ การให้บริการด้านสาธารณสุข ในเขตเทศบาลตำบลเทพสถิต ได้แก่
(๑) โรงพยาบาลเทพสถิต (ขนาด ๓๐ เตียง)
(๒) ศูนย์บริการสาธารณสุขชมชน จำนวน ๑ แห่ง
(๓) คลินิกเอกชน จำนวน ๑ แห่ง
ตารางที่ 5 แสดงอัตราส่วนบุคลากร/ประชากรในเขตเทศบาลตำบลเทพสถิต
ลำดับที่ |
ประเภทบุคลากร |
จำนวน |
อัตราส่วน บุคลากร/ประชาชน (คน) |
๑. |
แพทย์ |
6 |
๑ : ๑,๓๗๗ |
๒. |
ทันตแพทย์ |
4 |
๑ : ๒,๐๖๕ |
๓. |
เภสัชกร |
4 |
๑ : ๒,๐๖๕ |
๔. |
พยาบาลวิชาชีพ |
45 |
๑ : ๑๗๓ |
๕. |
พยาบาลเทคนิค |
- |
๑ : ๘๒๖ |
๖. |
เจ้าพนังงานสาธารณสุขชุมชน |
4 |
๑ : ๑,๓๗๗ |
๗. |
นักวิชาการสาธารณสุข |
8 |
๑ : ๔,๑๓๐ |
๘. |
นักวิชาการส่งเสริมสุขภาพ |
- |
๑ : ๔,๑๓๐ |
๙. |
เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข |
3 |
๑ : ๒,๐๖๕ |
๑๐. |
เจ้าพนักงานเภสัชกร |
4 |
๑ : ๒,๐๖๕ |
๑๑. |
อสม. (ในอำเภอเทพสถิต) |
๕๗๐ |
(ในเขตเทศบาล 59 ) |
(ที่มา : โรงพยาบาลเทพสถิต ณ วันที่ 30 มีนาคม 2564)
๔.๓ อาชญากรรม
เทศบาลตำบลเทพสถิตได้มีการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อย/ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเพื่อให้ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเทพสถิต
มีความเป็นอยู่ที่ดี มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยมีกิจกรรมดังนี้
เทศบาลตำบลเทพสถิต ได้มีการจัดเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรและอุปกรณ์ในการดับเพลิง เมื่อมีเหตุเพลิงไหม้ โดยจัดเวรยามพร้อมที่จะออกปฏิบัติการตลอด ๒๔ ชั่วโมง โดยติดต่อได้ทั้งที่สำนักงานเทศบาลตำบลเทพสถิต หรือทางโทรศัพท์ ๐-๔๔๘๕-๗๐๒๐ , ๐-๔๔๘๕-๕๒๕๒
๔.๔ ยาเสพติด
ปัญหายาเสพติดในชุมชนของเทศบาล จากการที่ทางสถานีตำรวจภูธรเทพสถิตได้แจ้งให้กับเทศบาลทราบนั้นพบว่าในเขตเทศบาลมีผู้ที่ติดยาเสพติดแต่เมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นถือว่าน้อย และยังไม่พบผู้ค้า เหตุผลเนื่องจากได้รับความร่วมมือจากผู้นำ ประชาชน หน่วยงานของเทศบาลที่ช่วยสอดส่องดูแลอยู่เป็นประจำ การแก้ไขปัญหาของเทศบาลสามารถทำได้เฉพาะตามอำนาจหน้าที่เท่านั้น เช่น การณรงค์
การประชาสัมพันธ์ การแจ้งเบาะแส การฝึกอบรมให้ความรู้ หากนอกเหนือจากอำนาจหน้าที่ก็จะมีการประสานขอรับการสนับสนุนจากที่ทำการปกครองอำเภอและสถานีตำรวจภูธรในพื้นที่แล้วแต่กรณี
ตามที่เทศบาลตำบลเทพสถิต ได้ดำเนินโครงการสำรวจข้อมูลพื้นฐานในเขตเทศบาลตำบลเทพสถิต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕64 เพื่อนำผลการสำรวจมาพิจารณาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้แก่ชุมชน
ผลการสำรวจประชาขนในเขตเทศบาลพบว่า ประชาชนที่สูบบุหรี่ จำนวน 300 ราย ดื่มสุรา 171 ราย
๔.๕ การสังคมสังเคราะห์
เทศบาลได้ดำเนินการด้านสงคมสังเคราะห์ ดังนี้
(๑) ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์
(๒) รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
(๓) ประสานการทำบัตรผู้พิการ
(๔) ตั้งโครงการการจ้างนักเรียน/นักศึกษาทำงานช่วงปิดภาคเรียน
(๕) ตั้งโครงการช่วยเหลือผู้ยากจน ยากไร้ รายได้น้อย และผู้ด้อยโอกาสไร้ที่พึ่ง
๕. ระบบบริการพื้นฐาน
๕.๑ การคมนาคมขนส่ง
๕.๑.๑ สภาพถนนปัจจุบัน เทศบาลตำบลเทพสถิตมีเส้นทางคมนาคมต่อกับจังหวัดชัยภูมิและจังหวัด อำเภอข้างเคียงได้สะดวก โดยทางรถยนต์และรถไฟ ดังนี้
ถนนสุรนารายณ์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕) เป็นเส้นทางหลักผ่านพื้นที่เทศบาลตำบลเทพสถิต โดยเป็นเส้นทางที่เริ่มจากอำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ไปยังจังหวัดนครราชสีมา
ทางรถไฟสายกรุงเทพฯ – หนองคาย (สถานีรถไฟวะตะแบก)
ถนนทางหลวงชนบทใช้เดินทางเชื่อมระหว่างตำบล หมู่บ้าน
ปัญหาทางด้านคมนาคมและขนส่ง เป็นปัญหาของระบบและโครงข่ายถนนในปัจจุบัน ตลอดจนปัญหาการจราจรและอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่เกิดจากการคมนาคมและขนส่งสภาพถนน โดยส่วนใหญ่พื้นผิวจราจรบนถนนสายหลักเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กอยู่ในสภาพใช้งานได้ดี ถนนในเทศบาลตำบลเทพสถิต มีอยู่ ๓ ประเภท ได้แก่
ถนนคอนกรีต (คสล.) มีความยาวโดยรวม ๕,๕๔๓ เมตร
ถนนหินคลุก มีความยาวโดยรวม ๓,๒๗๐ เมตร
ถนนแอสฟัลท์ติกคอนกรีต มีความยาวโดยรวม ๒,๔๑๘ เมตร
ระบบและโครงข่ายถนน การเชื่อมโยงการจราจรระหว่างถนนแต่ละสายในปัจจุบันยังขาดความต่อเนื่องที่ดีในอนาคตควรมีการปรับปรุงระบบถนน โดยกำหนดแนวทางเพื่อรองรับและเชื่อมต่อการคมนาคมให้เป็นระบบและมีโครงข่ายที่ดียิ่งขึ้น
๕.๑.๒ การจัดการขนส่งมวลชน ในเขตเทศบาลตำบลเทพสถิต มีการจัดการด้านขนส่งมวลชนอยู่ในเกณฑ์พอใช้ เนื่องจากเทศบาลตำบลเทพสถิตตั้งอยู่ระหว่างรอยต่อของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กับภาคกลาง ซึ่งได้ถือว่าเทศบาลตำบลเทพสถิตเป็นประตูสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกเส้นทางหนึ่งก็ว่าได้จึงทำให้มีการจัดการด้านขนส่งมวลชนได้หลายเส้นทาง ดังนี้
๕.๑.๒.๑ ทางรถโดยสารประจำทาง ในเขตเทศบาลตำบลเทพสถิต มีรถโดยสารประจำทางอยู่ 3 สาย ดังนี้
สายชัยภูมิ – เทพสถิต (ลงปลายทางที่ท่ารถวะตะแบก) เป็นรถของบริษัท
วงศ์ประทุม ขนส่ง จำกัด เที่ยวแรก ๑๐.๓๐ น. เที่ยวสุดท้าย ๑๖.๑๐ น. ใช้ เวลาเดินทางประมาณ ๒ ชั่วโมง
สายชัยภูมิ – กรุงเทพฯ เป็นรถปรับอากาศ (ลงปลายทางที่ท่ารถวะตะแบก)
เที่ยวแรก ๐๗.๐๐ น. เที่ยวสุดท้าย ๒๑.๐๐ น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๒ ชั่งโมง
สายกรุงเทพฯ – เทพสถิต – ชัยภูมิ หมายเลข ๙๙๐๙ ผ่านอำเภอเทพสถิต เป็นรถของบริษัท ชัยภูมิทัวร์ จำกัด เป็นรถปรับอากาศ เที่ยวแรก ๑๐.๐๐ น. เที่ยวสุดท้าย ๒๓.๐๐ น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๓ ชั่วโมงครึ่ง
๕.๑.๒.๒ เดินทางโดยรถไฟท้องถิ่น สายแก่งคอย – บัวใหญ่ เป็นการท่องเที่ยวระยะใกล้ โดยที่จะเน้นจุดท่องเที่ยวที่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์จังหวัดลพบุรีและอำเภอเทพสถิต โดยปรับรายการเดินทางตามความเหมาะสม
เดินทางโดย ขบวนรถดีเซลราง ขบวนที่ ๔๓๓
เที่ยวขึ้น ออกจาก สถานีรถไฟแก่งคอย เวลา ๐๕.๓๐ น.
ถึงสถานีเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เวลา ๐๖.๑๓ น.
ถึงสถานีวะตะแบก (เทพสถิต) เวลา ๐๗.๕๙ น.
ถึงสถานีบัวใหญ่ เวลา ๑๐.๐๐ น.
เดินทางโดย ขบวนรถดีเซลราง ขบวนที่ ๔๓๙
เที่ยวขึ้น ออกจาก สถานีรถไฟแก่งคอย เวลา ๑๑.๕๐ น.
ถึงสถานีเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เวลา ๑๒.๓๗ น.
๕.๒ การไฟฟ้า
รับผิดชอบและดำเนินการโดย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสาขาย่อยเทพสถิต (กฟย.) มีผู้ใช้ไฟฟ้า จำนวน ๑,๙๙๗ ครัวเรือน พื้นที่ที่ได้รับการบริการไฟฟ้าเต็มพื้นที่ทั้งหมดของเทศบาล จำนวนไฟฟ้าสาธารณะ (ไฟฟ้าส่องสว่าง) ๑๐๐ จุด และครอบคลุมถนน ๒๓ สาย
๕.๓ การประปา
ปัจจุบันการประปาภายในเทศบาลตำบลเทพสถิต ใช้บริการของการประปาส่วนภูมิภาค สาขาบำเหน็จณรงค์ หน่วยบริการเทพสถิต โดยประชากรร้อยละ ๙๐ ได้ใช้น้ำประปาโดยสามารถใช้ได้ตลอดปี จำนวนประชากรที่ใช้น้ำประปา ในเขตเทศบาลตำบลเทพสถิต ประชากรร้อยละ ๙๐ ได้ใช้น้ำประปา โดยสามารถใช้ได้ตลอดทั้งปี
(๑) จำนวนครัวเรือนที่ใช้น้ำประปา ๑,๗๙๗ ครัวเรือน
(๒) หน่วยงานเจ้าของกิจการประปา คือ การประปาส่วนภูมิภาค
(๓) น้ำประปาที่ผลิตได้ ๒,๔๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อวัน
น้ำประปาที่ใช้ในเขตเทศบาลฯ ๕๖๐ ลูกบาศก์เมตรต่อวัน
(๔) แหล่งน้ำดิบที่ใช้ผลิตน้ำประปา การประปาส่วนภูมิภาคได้ใช้ อ่างเก็บน้ำวังคก ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๑๐ บ้านหนองหิน ตำบลวะตะแบก อำเภอเทพสถิต เป็นแหล่งน้ำดิบ ที่ใช้ผลิตน้ำประปาแล้วส่งมาจ่ายให้ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเทพสถิตได้ใช้ ในการอุปโภค บริโภค ส่วนแหล่งน้ำสำรอง ที่ใช้ผลิตน้ำประปา การประปาส่วนภูมิภาคได้ใช้ บ่อ อส. ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ บ้านวะตะแบก ตำบลวะตะแบก อำเภอเทพสถิต
๕.๔ โทรศัพท์
ในเขตเทศบาลตำบลเทพสถิต มีการสื่อสารที่สำคัญ ได้แก่
จำนวนโทรศัพท์ส่วนบุคคลในพื้นที่ ๔๖๑ หมายเลข
จำนวนครัวเรือนที่มีโทรศัพท์ใช้ 50 ครัวเรือน
จำนวนโทรศัพท์สาธารณะแบบหยอดเหรียญ 0 หมายเลข
จำนวนชุมสายโทรศัพท์ในเขตพื้นที่ 2 ชุมสาย
๕.๕ ไปรษณีย์หรือการสื่อสาร หรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์
ที่ทำการไปรษณีย์ ได้แก่ ที่ทำการไปรษณีย์เทพสถิต
บริษัทขนส่งเอกชน 2 แห่ง
สถานีวิทยุกระจายเสียง/สถานีวิทยุโทรทัศน์ (ไม่มีในพื้นที่)
สื่อสารมวลชนในพื้นที่ (ไม่มีในพื้นที่)
ระบบเสียงตามสาย/หอกระจายข่าวในพื้นที่
๖. ระบบเศรษฐกิจ
โครงการทางเศรษฐกิจหลักของเทศบาลตำบลเทพสถิตส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัว ๑๗,๐๐๐ บาทต่อปี รายได้ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับสาขาการเกษตรมากที่สุด คือประมาณ ร้อยละ ๗๐ ประกอบอาชีพอยู่ในภาคการเกษตร เช่น การปลูกพืชไร่ พืชสวน การเลี้ยงสัตว์ การรับจ้างใช้แรงงาน เป็นต้น รองลงมาได้แก่ พาณิชยกรรมและบริการ, อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว ตามลำดับ
๖.๑ การเกษตร
ในเขตเทศบาลตำบลเทพสถิต ประชากรในพื้นที่ประมาณร้อยละ ๗๐ ประกอบอาชีพ อยู่ในภาคการเกษตร เช่น การปลูกพืชไร่ พืชสวน การเลี้ยงสัตว์ พืชเศรษฐกิจหลัก ๓ ชนิด ได้แก่
๖.๑.๑ พริก ในเขตเทศบาลตำบลเทพสถิต มีการเพาะปลูกพริก ๒ ชนิด คือพริกใหญ่และพริกขี้หนูใหญ่ เกษตรกรจะปลูกเพื่อจำหน่ายทั้งหมด จะเก็บไว้บริโภคในครัวเรือนบ้างเล็กน้อย
๖.๑.๒ มันสำปะหลัง ในเขตเทศบาลตำบลเทพสถิต มีพื้นที่การปลูกมันสำปะหลังเป็นจำนวนมาก เพราะมีโรงงานแปรรูปมัน (โรงแป้ง) ขนาดใหญ่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงคือตั้งอยู่ที่อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ
๖.๑.๓ ข้าวโพด ในเขตเทศบาลตำบลเทพสถิต มีพื้นที่การปลูกข้าวโพด เป็นจำนวนมาก เกษตรกรจะปลูกเพื่อจำหน่าย
ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าในเขตเทศบาลตำบลเทพสถิต จะมีพืชเศรษฐกิจหลัก ๓ ชนิด แต่เกษตรกรก็ยังมีความเป็นอยู่ที่ยากจน เนื่องจากผลผลิตทางภาคเกษตรราคาตกต่ำ ในปีที่มีผลผลิตเข้าสู่ตลาดมากเกินไปจนล้นตลาดหรือในปีที่ประสบภาวะฝนทิ้งช่วงนานผลผลิตทางภาคเกษตรก็ไม่ได้ผลด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงทำให้ประชากรในเขตเทศบาลตำบลเทพสถิต ที่มีอาชีพทางการเกษตรมีฐานะยากจน ซึ่งถือว่าเป็นประชากรส่วนใหญ่ของเทศบาลตำบลเทพสถิต
๖.๒ การประมง
เขตเทศบาลตำบลเทพสถิต ไม่มีการประมง
๖.๓ การปศุสัตว์
เขตเทศบาลตำบลเทพสถิต มีการเลี้ยงรายย่อยโดยทั่วไป หรือการเลี้ยงภายในครัวเรือน เพื่อใช้แรงงานและเป็นอาหาร อีกทั้งเป็นการออมเงินของเกษตร เช่น การเลี้ยงโคนม การเลี้ยงสุกร โคเนื้อ เป็นต้น
๖.๔ การบริการ
ในเขตเทศบาลตำบลเทพสถิต ภาวะการค้าโดยทั่วไป การขยายตัวทางการค้ามากขึ้นแต่เป็นไปอย่างช้าตามผลกระทบทางเศรษฐกิจของประเทศ ธุรกิจการค้าส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดเล็ก
ทุนดำเนินการน้อย และเป็นการค้าลักษณะร้านค้าปลีก
๖.๕ การท่องเที่ยว
เทศบาลตำบลเทพสถิตไม่มีแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ แต่เป็นสถานที่ที่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาตามสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญๆ ของอำเภอเทพสถิต ได้แก่ อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม ทุ่งดอกกระเจียว น้ำตกเทพประทาน ทุ่งกังหันลมเทพสถิต ฯลฯ นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ที่เดินทางมาโดยรถโดยสารประจำทาง หรือรถยนต์ส่วนตัวโดยเส้นทางหลวงสาย ๒๐๕ (สุรนารายณ์) จะเดินทางมาลงที่บ้านวะตะแบก (เขตเทศบาล) หรือการเดินทางโดยรถไฟจะลงที่สถานีรถไฟบ้านวะตะแบก (เทพสถิต) ซึ่งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลเทพสถิต ซึ่งถือว่าเป็นการพักรถหรือจุดเปลี่ยนถ่ายรถก่อนที่จะเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยวต่อไป จุดนี้เองที่ทำให้มีการจับจ่ายซื้ออาหารเพื่อเตรียมตัวก่อนที่จะเดินทางขึ้นไปท่องเที่ยวตามสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของอำเภอเทพสถิตต่อไป จึงทำให้เกิดรายได้แก่ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเทพสถิต โดยเฉพาะฤดูการท่องเที่ยวชมทุ่งดอกกระเจียว ซึ่งจะมีขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายนของทุกปี
๖.๖ อุตสาหกรรม
เป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กใช้แรงงานคนเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ โรงงานแปรรูปถั่ว ซึ่งแปรรูปถั่วประเภทต่าง ๆ เพื่อการส่งออกไปยังพื้นที่ข้างเคียง โรงงานนี้ได้สร้างงานและรายได้ให้แก่ประชาชนได้หลายครัวเรือน
๖.๗ การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
การขยายตัวด้านพาณิชย์และบริการ มีข้อจำกัดในด้านทุนโครงสร้างพื้นฐาน
สถานประกอบการด้านพาณิชยกรรม
ก. สถานีบริการน้ำมัน ๔ แห่ง
ข. ตลาดสด ๑ แห่ง ได้แก่ ตลาดสดเทพสถิต (ตลาดเก่า)
ค. ร้านค้าทั่วไป ๖๗ แห่ง
สถานประกอบการด้านบริการ
ก. โรงแรม ๑ แห่ง
ข. ธนาคาร ๓ แห่ง ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารออมสิน
ค. สถานที่จำหน่ายอาหาร ๒๐ แห่ง
๖.๘ แรงงาน
แรงงานส่วนใหญ่ของตำบลเทพสถิต จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก และมีการประกอบอาชีพนอกภาคเกษตรกรรม เช่น การทำงานในสถานประกอบการต่าง ๆ ทั้งในจังหวัดชัยภูมิ และต่างจังหวัด แรงงานที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมในเขตปริมณฑลรวมทั้งในจังหวัดอื่น ๆ หรือต่างประเทศ
๗. เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)
๗.๑ ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้านหรือชุมชน
เทศบาลตำบลเทพสถิต เดิมเป็นพื้นที่จัดตั้งเป็นสุขาภิบาล มีชื่อว่า “สุขาภิบาลเทพสถิต อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ” ได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาลเทพสถิต เป็นเทศบาลตำบลเทพสถิต ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๙ ก วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ จึงเป็นผลให้สุขาภิบาลเทพสถิต เปลี่ยนแปลงเป็นเทศบาลตำบลเทพสถิต ในวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ เป็นต้นมา แบ่งการปกครองออกเป็น ๒ เขต จำนวน ๗ ชุมชน ประกอบด้วย
เขต ๑ ประกอบด้วย
ชุมชนเทศบาล ๑ (วะตะแบกน้อย – ศาลาแดง) ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๑ บ้านวะตะแบก
ชุมชนเทศบาล ๒ (ตลาดเก่า) ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๑ บ้านวะตะแบก
ชุมชนเทศบาล ๓ (หมวดการทางฯ) ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๑ บ้านวะตะแบก
เขต ๒ ประกอบด้วย
ชุมชนเทศบาล ๔ (ตลาดใหม่) ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๑ บ้านวะตะแบก
ชุมชนเทศบาล ๕ (เสมาทอง) ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๒ บ้านห้วยเกตุ
ชุมชนเทศบาล ๖ (เทวา) ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๒ บ้านห้วยเกตุ
ชุมชนเทศบาล ๗ (ศูนย์ราชการฯ) ตั้งอยู่ บ้านพักบริเวณที่ทำการอำเภอ สถานีตำรวจและบริเวณใกล้เคียง
๗.๒ ข้อมูลด้านการเกษตร
(๑) ชุมชนเทศบาล ๑ มีพื้นที่ทั้งหมด ๒๑ ไร่ ทำการเกษตร
(๒) ชุมชนเทศบาล ๒ มีพื้นที่ทั้งหมด - ทำการเกษตร
(๓) ชุมชนเทศบาล ๓ มีพื้นที่ทั้งหมด ๑๑ ไร่ ทำการเกษตร
(๔) ชุมชนเทศบาล ๔ มีพื้นที่ทั้งหมด ๔๖ ไร่ ทำการเกษตร
(๕) ชุมชนเทศบาล ๕ มีพื้นที่ทั้งหมด ๖๑ ไร่ ทำการเกษตร
(๖) ชุมชนเทศบาล ๖ มีพื้นที่ทั้งหมด ๖๕ ไร่ ทำการเกษตร
(๗) ชุมชนเทศบาล ๗ มีพื้นที่ทั้งหมด ๕๖ ไร่ ทำการเกษตร
๗.๓ ข้อมูลด้านแหล่งน้ำทางการเกษตร
(๑) ชุมชนเทศบาล ๑ มีแหล่งน้ำทางการเกษตร ได้แก่ คลองวะตะแบกน้อย
(๒) ชุมชนเทศบาล ๒ มีแหล่งน้ำทางการเกษตร ได้แก่ บ่อ อส.
(๓) ชุมชนเทศบาล ๓ มีแหล่งน้ำทางการเกษตร ได้แก่ คลองผักโปร่ง
(๔) ชุมชนเทศบาล ๔ มีแหล่งน้ำทางการเกษตร ได้แก่ สระน้ำที่สร้างขึ้นเอง
(5) ชุมชนเทศบาล 5 มีแหล่งน้ำทางการเกษตร ได้แก่ คลองบ้านห้วยเกตุ ตอนล่าง
(6) ชุมชนเทศบาล 6 มีแหล่งน้ำทางการเกษตร ได้แก่ สระน้ำโบราณ
(7) ชุมชนเทศบาล 7 มีแหล่งน้ำทางการเกษตร ได้แก่ สระน้ำอำเภอ
7.4 ข้อมูลด้านแหล่งน้ำกิน น้ำใช้ (หรือน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค)
ชุมชนเทศบาล ๑ ถึงชุมชนเทศบาล 7 มีแหล่งน้ำ น้ำกิน น้ำใช้จากระบบประปา (การประปาส่วนภูมิภาค)
๘. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
๘.๑ การนับถือศาสนา
ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยมีศาสนาในเขตเทศบาล วัด ๒ แห่ง ได้แก่
วัดวะตะแบก ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ บ้านวะตะแบก และ วัดบ้านห้วยเกตุ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ บ้านห้วยเกตุ
๘.๒ ประเพณีและงานประเพณี
เทศบาลตำบลเทพสถิตมีงานประเพณีสำคัญ ประกอบด้วย งานประจำปีศาลเจ้าพ่อวะตะแบก จัดขึ้นทุกช่วงต้นปีของทุกปี และการจัดงานประเพณีในวันสำคัญต่าง ๆ ได้แก่ วันลอยกระทง วันสงกรานต์
๙. ทรัพยากรธรรมชาติ
๙.๑ น้ำ
น้ำที่ประชาชนในเทศบาลตำบลเทพสถิตใช้สำหรับการอุปโภค-บริโภคและทำการเกษตร มีดังนี้
๙.๑.๑ หนอง บึง จำนวน ๑ แห่ง ได้แก่ บ่อ อ.ส. ที่ตั้ง ชุมชน 2 บ้านวะตะแบก หมู่ที่ ๑
๙.๑.๒ คลอง ลำธาร ห้วย จำนวน ๓ แห่ง ได้แก่
- คลองวะตะแบก บ้านวะตะแบก ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑
- คลองผักโปร่ง บ้านวะตะแบก ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑
- คลองห้วยเกตุ บ้านห้วยเกตุ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒
๙.๒ ป่าไม้
ในเขตเทศบาลไม่มีป่าไม้ แต่มีต้นไม้ที่ชาวบ้านปลูกลักษณะของไม้เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ
๙.๓ ภูเขา
ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลเทพสถิต ไม่มีภูเขาอยู่ในเขตพื้นที่
๙.๔ คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ
คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติในเทศบาลตำบลเทพสถิต ค่อนข้างจะสมบูรณ์ ทั้ง ดิน น้ำ
ป่าไม้ จะเห็นได้ จากเกษตรกรในพื้นที่สามารถทำการเกษตรได้ตลอดทั้งปี